ก่อนหน้าน้ัน ในโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ หรือโครงการอัจฉริยะต่างๆ นิยมใช้ PLC เป็นโหนด Controller ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์เซ็นเซอร์และระบบการทำงานต่างๆ โดยใช้ระบบ SCADA วิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทน์และควบคุมการทำงาน หรือบางระบบมี OPC Server ไว้ช่วยสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่าง SCADA และ PLC ระบบนี้ทำงานได้เป็นอย่างดี มีความสเถียรและเป็นที่ยอมรับ แต่การเฝ้าระวังระบบทางไกลยังเป็นสิ่งที่ต้องลงทุนสูงอยู่และมีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้ชำนาญการในการพัฒนาระบบ

     การมาของ IoT และ Cloud เป็นกระแสที่ได้รับความสนใจกันอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบทางไกลผ่านอินเตอร์เนตโดยสมาร์ทโฟน หรือทางเว็ปแอพพลิเคชันได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำออกข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมต่างๆ (Data Analytic) ตั้งค่าการแจ้งเตือนผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและอื่นๆ (Notification) มีกระดานแสดงผล (Dashboard) ที่สวยงามใช้งานง่ายเป็นมิตรกับผู้ใช้และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบไม่สูงมาก

จึงมีการพูดถึงการนำ IoT ไปประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ หรือโครงการอัจฉริยะต่างๆกันมากขึ้น แต่การนำ IoT มาประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ หรือโครงการอัจฉริยะต่างๆ ในช่วงแรกยังมีอุปสรรคอยู่มากเพราะอุปกรณ์ IoT ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้เฉพาะทาง ไม่มีพอร์ตสื่อสารเช่น RS485 ไว้สื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ การสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกมีช่องทางให้เลือกน้อย ไม่รองรับกับระบบจ่ายไฟ 24VDC จากปัญหาดังกล่าวทาง บริษัท ใส่ใจ เทค จำกัด จึงได้พัฒนาอุปกรณ์คอนโทลเลอร์ที่มีชุดสื่อสารในตัวขึ้นมาเรียกว่า “MiniLink IIoT Node” เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะหรือโครงการอัจฉริยะต่างๆ

MiniLink IIoT คืออะไร ?

MiniLink เป็นโหนด IIoT มีราคาย่อมเยา สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานและมีโมดูลสื่อสารในตัว มีให้เลือกอยู่สองรุ่นหลัก คือ รุ่นแรกใช้หน่วยประมวลผล ESP32 หรือ รุ่นที่สอง Arm Cortex M0+ โดยรุ่นที่ใช้ ESP32 รองรับการพัฒนาโปรแกรมโดย Arduino IDE , ESP-IDF, MocroPython , JavaScript และ Lua ส่วนรุ่นที่ใช้ Arm Cortex M0+ จะรองรับการพัฒนาโปรแกรมโดย Arduino IDE , MPLAB X IDE , Atmel Studio 7 IDE และ CircuitPython

MiniLink IIoT Nod มีโม ดูล LoRaWAN ของ ACER และพอร์ต RS485 มาพร้อมอยู่บนบอร์ด มีเคสเป็นกล่องพลาสติกแบบ DIN RAIL พร้อมไฟ LED แสดงสถานะมีสายอากาศแบบพลาสติกอยู่ในกล่อง พร้อมทั้งมีคอนเน็กเตอร์ถอดเข้าถอดออกได้ ทำให้สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับเซนเซอร์และแหล่งจ่ายพลังงาน มีขนาดเล็กกระทัดรัด

ฟีเจอร์หลัก MiniLink IIoT

  • มีโมดูล LoRaWAN ของ ACER รุ่น AS923 มาพร้อมบอร์ด
  • มี WiFi และ Bluetooth 4/BLE มาพร้อมบอร์ด (*เฉพาะรุ่น ESP32)

  • มีพอร์ต RS485/UART (สามาถเลือกจั๊มเปอร์ได้)

  • รองรับแหล่งจ่ายพลังงาน 5-24VDC

  • มี USER SWITCH ที่สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมได้

  • สามารถเพิ่มพอร์ต RS485 ได้เป็นสองพอร์ต

  • มีบอร์ดเสริม (Shield) หลายประเภทให้เลือกใช้

บอร์ดหลัก MiniLink IIoT Node

รายละเอียด Minilink DTU

Model S93-DTU
Frequency 920-925 MHz
Transmit Power 14 dBm
Communication port RS485, Modbus RTU
Power Supply DC 12V-24V
Antenna connector Female SMA
Operating temperature -40°C ~ 85°C
Dimension 30 x 66 x 92 mm
Pinout_minilink

รายละเอียด PIN OUT Minilink Node IIoT

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

MiniLink IIoT – LoRa PtP

สาธิตวิธีการนำโหนด MiniLink IIoT – LoRa PtP ควบคุมหลอดไฟทางไกล รับ-ส่งข้อมูลระหว่างคลาวด์กับ LoRa PtP Gateway ผ่านเครือข่าย3G/4G โดยโปรโตคอล MQTT ตัว LoRa PtP Gateway สามารถส่งคำสั่งไปยัง MiniLink PtP Node โดยโปรโตคอล LoRa ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสั่งปิดเปิดหลอดไฟพร้อมกัน หรือแยกเป็นรายโหนดได้

บอร์ดเสริม (Shield)

โมดูลสื่อสาร LoRa PtP ของ ACER รุ่น AS923

Standard: IEEE 802.15.4g
Frequency : 920-925MHz, AS923
Power: 19dBm
Port : RS485

โมดูลสื่อสาร SIMCOM NB-IoT Model SIM7020E
NBIOT_7020E

รองรับความถี่: ใช้งานในประเทศไทย

Frequency band: FDD-LTE B1/B3/B5/B8/B20/B28

Data rate: Uplink≤62.5Kbps, Downlink≤26.15Kbps

Port: RS485

โมดูลสื่อสาร NB-IoT ของ QUECTEL รุ่น BC95-G

รองรับความถี่: ใช้งานในประเทศไทย

Frequency band: B1/B3/B8/B5/B20/B28

Max. 125Kbps downlink / 150Kbps uplink

eSIM support

โมดูลสื่อสาร 3G/LTE/GNSS ของ SIMCOM รุ่น SIM7600E

รองรับความถี่: ใช้งานในประเทศไทย

Multi-Band LTE-TDD/LTE-FDD/HSPA+

  • Uplink up to 50Mbps
  • Downlink up to 150Mbps
  • GPS/BeiDou/Glonass/LBS

ตัวอย่างการนำบอร์ด MiniLink IIoT Node ไปใช้งานจริง

Diagram ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Minilink