สัมมนาเชิงปฏิบัติการ Seminar & Workshop

LoRaWAN 101 รุ่นที่ 12

“LoRaWAN เบื้องต้นและการสร้างกระดานแสดงผล”

วันที่ 28 – 29 มกราคม พ.ศ. 2566

โลกของเทคโนโลยีไม่เคยหยุดพัฒนา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความฉลาดมากขึ้นจนมันเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์ได้อย่างมากมาย  สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Smart Device ทุกวันนี้มันถูกพัฒนาจนสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้  และถูกเรียกว่า “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง”

Internet of Things คือการที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่าย LoRaWAN ได้ เช่น การเปิด–ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ แต่รวมถึงทุกๆ สิ่ง  เราสามารถควบคุม เฝ้าระวัง หรือดูแลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

ดังนั้นการส่งเสริมให้ความรู้ และสร้างทักษะในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ LoRaWAN และการสร้างกระดานแสดงผลเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตัดสินใจและเฝ้าระวังอุปกรณ์ Internet of things (IoT) ผ่าน ทางเครือข่าย LoRaWAN จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ  เพราะไม่เพียงแค่เป็นการพัฒนาทักษะความรู้ส่วนบุคคล แต่ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้โดยรวมของสังคม กระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ ส่งผลไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศอีกด้วย

วัตถุประสงค์

  • เข้าใจเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลพลังงานต่ำ (LoRa)

  • ฝึกปฏิบัติพัฒนา LoRa สำหรับงานโครงการ

  • ออกแบบสร้างกระดานแสดงผล IoT โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล

  • สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมได้รับ

  • เวิร์คช็อป IoT ผ่านทางเครือข่าย Private LoRaWAN จำนวน 2 วัน (12 ชั่วโมง)

  • เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลพลังงานต่ำ (LoRa)

  • เข้าใจมาตรฐาน ข้อกำหนดต่างๆ ของ LoRaWAN

  • เข้าใจการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลผ่านระบบ LoRaWAN

  • เรียนรู้และใช้งาน HTTP RESTful API สื่อสารกับ LoRaWAN

  • ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปสร้างผลิตภัณฑ์ได้

  • ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปต่อยอดทางธุรกิจ และนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

  • เข้าใจการเชื่อมต่อ Sensor ด้วยโปรโตรคอล MODBUS RTU

  • เข้าใจการใช้งาน Open-source Network Server โดย LoRa ChirpStack

  • เข้าใจการใช้โปรโตลคอล MQTT ร่วมกับ LoRa ChirpStack

  • เข้าใจการ Decode Payload บน LoRa ChirpStack โดย JavaScript

  • เข้าใจการ Decode Payload โดยโปรแกรม Node-RED

  • เข้าใจการเชื่อมต่อ LoRa ChirpStack กับฐานข้อมูล Influxdb

  • สามารถสร้าง LoRaWAN  IoT dashboard ได้

  • *ได้รับฟรี Account ทดลองใช้งาน Private LoRaWAN Network Server

  • *ได้รับฟรี Account ใช้งาน Grafana สำหรับสร้าง Dashboard บน Cloud

  • *ได้รับฟรี พื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ในฐานข้อมูลบน Cloud

เนื้อหาหลักของการอบรม

          • วันที่ 1
            • แนะนำเทคโนโลยี LoRaWAN เบื้องต้น
            • เคสการประยุกต์นำ LoRaWAN ไปใช้งานในโครงการ
            • ข้อกำหนดเกี่ยวกับ LoRaWAN
            • มาตรฐานและเวอร์ชัน ของ LoRaWAN
              • รู้จัก LoRa Alliance / Specification
              • รู้จัก Spread Spectrum Technology
              • รู้จัก LoRaWAN Modulation / ADR / Frequencies
              • รู้จัก LoRaWAN Network Topology
              • รู้จัก LoRaWAN Network Protocol Security
              • รู้จักการทำงานของ LoRaWAN CLASS A/B/C
            • การเชื่อมต่อ LoRaWAN (Activation)
              • รู้จัก DevEUI / AppEUI / AppKey
              • รู้จัก DevAddr / NwkSkey / AppSkey
              • เข้าใจการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ OTAA และ ABP
            • การรับส่งข้อมูล LoRaWAN
              • เข้าใจ Confirmed-Data Message
              • เข้าใจ Application Server Data Message
            • การเขียนโปรแกรมควบคุมโมดูล LoRaWAN
              • การติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE
              • การเพิ่มบอร์ด ESP32 ในโปรแกรม Arduino IDE
              • การติดตั้งไลบรารี่ SaiJai LoRa
              • การเขียนโปรแกรมบน Arduino IDE
              • การใช้ Hardware Serial บน Serial Monitor
              • การใช้ AT Command สื่อสารกับโมดูล LoRa
              • LAB. การใช้ AT Command: @ATZ / @AT+JOIN / @AT+CLASS / @AT+SENDB …
            • เรียนรู้ LoRaWAN Uplink
              • การออกแบบสร้าง Payload สำหรับการสื่อสารผ่าน LoRaWAN สำหรับใช้งานจริง
              • การ Encode Payload ให้อยู่ในรูปแบบ HEX String
              • การ Decode Payload ให้อยู่ในรูปแบบ JSON String และ Object
              • การใช้งาน SaiJai LoRa ไลบรารี่
              • LAB. การดูรายละเอียดค่าพารามิเตอร์ของโมดูลโดย SaiJai LoRa ไลบรารี่
              • LAB. การเชื่อมต่อ Private LoRaWAN Network Server แบบ OTAA
              • LAB. การส่งข้อความ “hello world” แบบ String ไปยัง network server
              • LAB. การส่งข้อความ “hello world” แบบ HEX String ไปยัง network server
              • LAB. การอ่านค่าเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นโดยโปรโตคอล MODBUS RTU ผ่านพอร์ต RS485
              • LAB. การส่งข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นไปยัง LoRa ChirpStack Network Server
            • การใช้โปรแกรม MQTT Client
              • การติดตั้งโปรแกรม MQTT.fx
              • การใช้งานโปรแกรม MQTT.fx
              • การใช้งานโปรโตคอล MQTT กับ ChirpStack บนโปรแกรม MQTT Client
              • เรียนรู้ MQTT Topic ต่างๆ สำหรับเรียกดู LoRa Payload จาก LoRa Network Server
              • LAB. การเชื่อมต่อโปรแกรม MQTT Client (MQTT.fx) กับ LoRa ChirpStack
              • LAB. การ Subscribe MQTT ดูค่า Payload จาก LoRa ChirpStack
          • วันที่ 2
            • เรียนรู้ LoRaWAN Downlink
              • การแปลงข้อมูล Payload HEX String ให้อยู่ในรูปแบบ BASE64
              • LAB. การส่ง Downlink ไปยัง LoRa Node แบบ CLASS A ผ่านโปรโตคอล MQTT โดย MQTT Client (MQTT.fx)
                • > ใช้รูปแบบ Payload แบบ BASE64
                • > ใช้รูปแบบ Payload แบบ JSON Object
              • LAB. การเปลี่ยนโหมดโหนด LoRa CLASS A เป็น CLASS C
              • LAB. การส่ง Downlink ไปยัง LoRa Node แบบ CLASS C ผ่านโปรโตคอล MQTT โดย MQTT Client (MQTT.fx)
            • เรียนรู้โปรแกรม Node-RED
              • การติดตั้งโปรแกรม Node-RED
              • การใช้งานโปรแกรม Node-RED เบื้องต้น
              • การเขียนฟังก์ชัน JavaScript บนโปรกรม Node-RED
              • LAB. การสร้าง Flow บนโปรแกรม Node-RED
              • LAB. การเชื่อมต่อ LoRa Network Server โดยโปรแกรม Node-RED
              • LAB. การใช้งานโปรโตคอล MQTT เชื่อมต่อ LoRa Network Server โดยโปรแกรม Node-RED
              • LAB. เขียน JavaScript Decode Payload บนโปรแกรม Node-RED ในรูปแบบ JSON
            • ฐานข้อมูล Time Series Database เบื้องต้น
              • แนะนำฐานข้อมูล InfluxDB
              • ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูล InfluxDB
              • เข้าใจการทำงานของฐานข้อมูล InfluxDB
              • LAB. การ Query ข้อมูล
                > SELECT / WHERE / GROUP BY และอื่น ๆ
              • LAB. การเชื่อมต่อฐานข้อมูล InfluxDB กับโปรแกรม Node-RED และการเก็บข้อมูล
            • รู้จักเครื่องมือในการพัฒนากระดานแสดงผล Grafana
              • เข้าใจการทำงานของเครื่องมือในการพัฒนากระดานแสดงผล Grafana
              • รู้จักเครื่องมือสำหรับสร้างหน้า Dashboard แบบต่าง ๆ
                • Row
                • Graph
                • Gauge
                • Table
                • Text
                • Alarm
                • Alert List
                • HTML script และอื่นๆ
              • การติดตั้ง Plugin ส่วนเพิ่มเติม ให้กับเครื่องมือในการพัฒนากระดานแสดงผล Grafana
              • LAB. การสร้างกระดานแสดงผล
            • โปรเจคฝึกอบรม
              • LAB. สร้าง IoT Dashboard โดยใช้ข้อมูลจาก LoRaWAN
private LoRaWAN

วิทยากร

อาจารย์วิสิทธิ์ เวียงนาค

  • รับจำนวนจำกัด 15 ท่านเท่านั้น (จำกัดจำนวนผู้เข้าอบรม เพื่อการดูแลให้ได้ทั่วถึงและความเข้าใจในเนื้อหา)

  • ค่าอบรม 2 วัน  9,900.-  บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    ส่วนลดพิเศษ จากปกติราคา 15,000 บาท
    ** ราคานี้ไม่รวมอุปกรณ์ประกอบการอบรม

  • มีอุปกรณ์ให้ยืมอุปกรณ์ประกอบการอบรม

  • ราคานี้รวม อาหารกลางวัน, อาหารเบรค และเครื่องดื่ม

Official Line ID : @saijaitech
email : iot@saijai.tech
​โทร. 081-8811588  (มาลัยพร)

สถานที่อบรม

ศูนย์อบรม SaiJai Digital Academy ถนนประชาชื่น

ดูแผนที่
  •   ธนาคารกสิกรไทย  สาขาโรบินสัน ศรีสมาน  ชื่อบัญชี บริษัท ใส่ใจ เทค  เลขที่บัญชี 074-1-16131-1

  •   ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ ชื่อบัญชี : บริษัท ใส่ใจ เทค  เลขที่บัญชี : 434-086136-4

  •   ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดพูนทรัพย์  ชื่อบัญชี : บริษัท ใส่ใจ เทค   เลขที่บัญชี : 661-4-02064-1

อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม

 LoRa Node

ฟีเจอร์หลัก :

  • มีโมดูล LoRaWAN ของ ACER รุ่น AS923 มาพร้อมบอร์ด
  • มี WiFi และ Bluetooth 4/BLE มาพร้อมบอร์ด
  • มีพอร์ต RS485/UART (สามาถเลือกจั๊มเปอร์ได้)
  • รองรับแหล่งจ่ายพลังงาน 12/24VDC
  • มี USER SWITCH ที่สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมได้
  • สามารถเพิ่มพอร์ต RS485 ได้เป็นสองพอร์ต
  • มีบอร์ดเสริม (Shield) หลายประเภทให้เลือกใช้

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบอร์ดสำหรับอบรม

** อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ให้ยืมทดลองเฉพาะวันอบรมเท่านั้น

 LoRa Gateway

ลงทะเบียน

บรรยากาศการอบรม